วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ข้อมูล กศน.ตำบลหนองเอี่ยน


๑. สภาพทางกายภาพของชุมชน (ตำบล/แขวง)
        ขนาดพื้นที่ ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ ลักษณะทางกายภาพ โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมติดต่อสื่อสาร
             ตำบลหนองเอี่ยน มีชนกลุ่มหนึ่งได้อพยพหนีข้ามแม่น้ำโขงมาจากบ้านวัวแดง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เฒ่าไชยปัญญาได้พาพรรคพวกออกสำรวจภูมิประเทศ ตามชายป่าริมห้วยแข้ จึงเห็นว่าเป็นทำแลที่เหมาะสมในการทำนา ทำสวน ทำไร่ และเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์มีป่ารกทึบหนาแน่น ประกอบกับมีห้วยหนองคลองผ่าน มีสัตว์น้ำและสัตว์ป่ามากมาย จึงได้ตกลงกันเข้ามาอาศัย และตั้งชื่อหมู่บ้านตามหนองน้ำที่ใกล้หมู่บ้าน ซึ่งหนองน้ำนั้นมีปลาอยู่มากมายหลายชนิด แต่มีปลาไหลมากเป็นพิเศษ จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านหนองเอี่ยน" ต่อมามีผู้อพยพมาอยู่กันมากขึ้นจนกลายเป็นหมู่บ้านใหญ่ ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นตำบลหนองเอี่ยน มาจนถึงปัจจุบัน
ตำบลหนองเอี่ยน เป็นหนึ่งในจำนวน ๙ ตำบลของอำเภอคำชะอี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอคำชะอี อยู่ห่างจากตัวอำเภอคำชะอีเป็นระยะทางประมาณ ๖ กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดเป็นระยะทางประมาณ  ๒๙ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆดังนี้
          Äทิศเหนือ      ติดต่อกับ ต.บ้านค้อ, โพนงาม อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
          Äทิศใต้         ติดต่อกับ ต.เหล่าสร้างถ่อ, บ้านซ่ง อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร     
          Äทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.ผึ่งแดด อ.เมือง จ.มุกดาหาร
          Äทิศตะวันตก   ติดต่อกับ ต.บ้านซ่ง อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร 
ลักษณะภูมิประเทศ
  มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ  ๑๐,๓๒๕  ไร่  หรือประมาณ  ๑๖  ตารางกิโลเมตร
           ตำบลหนองเอี่ยนมีพื้นที่ทั้งหมดเป็นพื้นที่ราบสม่ำเสมอ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำการเกษตรมีลำห้วยไหลผ่านหลายสาย
                              - พื้นที่   ทำการเกษตร          ไร่         ร้อยละ ๙๐ %
                            - พื้นที่   ทำการเลี้ยงสัตว์       ไร่  ร้อยละ ๕ %
                              - พื้นที่   รกร้างว่างเปล่า        ไร่   ร้อยละ  %
การคมนาคม
                             -  ทางหลวงแผ่นดินสาย๑(สายมุกดาหาร-คำชะอี)๒ สายหนองเอี่ยน-บ้านเหล่า)
                             -  ถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้าน            ๔๔      สาย
                             -  ถนนลูกรังภายในหมู่บ้าน                  ๘        สาย
                             -  ถนน  รพช.                                ๑        สาย  (บ้านหัวขัว-โพนงาม)


๒. สภาพทางสังคม – ประชากร
        จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร จำแนกตามเพศ กลุ่มอายุ ศาสนา ชาติพันธุ์ และระดับการศึกษา
      แบ่งเขตการปกครอง
               เป็น ๑๐ หมู่บ้าน   จำนวนประชากรในเขต ตำบลหนองเอี่ยน ๕,๓๗๖ คน
กำนันตำบลหนองเอี่ยน ชื่อ นายนิวัฒน์ แก้วดี
จำนวนหมู่บ้าน    มีหมู่บ้านทั้งหมด  ๑๐  หมู่บ้าน ๑,๔๒๖ ครัวเรือน ดังนี้
                             จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเอี่ยนทั้ง ๑๐หมู่บ้านได้แก่
                                      หมู่ที่ ๑  บ้านหนองเอี่ยน            จำนวนครัวเรือน  ๑๘๘  ครัวเรือน
                                                หมูที่ ๒  บ้านหนองเอี่ยน            จำนวนครัวเรือน  ๒๐๘  ครัวเรือน
                                      หมู่ที่ ๓  บ้านหนองอินหม่อน       จำนวนครัวเรือน  ๑๘๒  ครัวเรือน
                                      หมู่ที่ ๔  บ้านทุ่งนางหน่าย           จำนวนครัวเรือน  ๑๕๓  ครัวเรือน
                                      หมู่ที่ ๕  บ้านหนองบง              จำนวนครัวเรือน  ๑๖๕  ครัวเรือน
                                      หมู่ที่ ๖  บ้านนาหลวง               จำนวนครัวเรือน  ๑๑๓  ครัวเรือน
                                      หมู่ที่ ๗  บ้านหัวขัว                  จำนวนครัวเรือน  ๑๓๔  ครัวเรือน
                                      หมู่ที่ ๘  บ้านนาหลวง               จำนวนครัวเรือน    ๖๗  ครัวเรือน
                                      หมู่ที่ ๙  บ้านหนองบง              จำนวนครัวเรือน  ๑๒๘  ครัวเรือน
                                      หมู่ที่ ๑๐บ้านหนองเอี่ยน           จำนวนครัวเรือน    ๘๘  ครัวเรือน
จำนวนประชากร
          *จำนวนประชากรทั้งหมด ๕,๓๗๖  คน แยกเป็น  ชาย ๒,๖๒๔  คน  หญิง ๒,๗๕๒ คน

หมู่บ้าน
จำนวนประชากร (คน)
รวม
ชาย
หญิง
บ้านหนองเอี่ยน หมู่ ๑
บ้านหนองเอี่ยน หมู่ ๒
บ้านหนองอินหม่อน หมู่ ๓
บ้านทุ่งนางหนาย หมู่ ๔
บ้านหนองบง หมู่ ๕
บ้านนาหลวง หมู่ ๖
บ้านหัวขัว หมู่ ๗
บ้านนาหลวง หมู่ ๘
บ้านหนองบง หมู่ ๙
บ้านหนองเอี่ยน หมู่ ๑๐
๓๗๙
๓๑๙
๓๓๒
๒๗๘
๒๙๒
๒๓๓
๒๒๗
๑๔๓
๒๗๙
๑๔๒
๓๘๐
๒๘๓
๓๐๘
๒๙๙
๒๗๑
๒๖๐
๒๕๒
๑๖๒
๒๖๖
๑๗๑
๗๕๙
๗๐๒
๖๔๐
๕๙๗
๕๙๓
๔๙๓
๔๗๙
๓๐๕
๕๔๕
๓๑๓
รวม
๒,๖๒๔
,๗๕๒
,๓๗๖

๓. สภาพทางเศรษฐกิจ
        โครงสร้างฐานอาชีพของชุมชน รายได้เฉลี่ยของประชากร
           อาชีพ  ราษฎรในตำบลหนองเอี่ยนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้แก่ การทำนาทำไร่  ทำสวนและรับจ้าง เป็นต้น     นอกจากนั้นตำบลหนองเอี่ยนยังเป็นศูนย์กลางการค้าขายจึงมีการค้าขายในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งเป็นตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและร้านค้าปลีกจำนวนมากและมีประชากรบางส่วนประกอบอาชีพราชการ  ในด้านปศุสัตว์นั้นมีการเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อการบริโภคและจำหน่ายเป็นรายให้แก่ครอบครัวได้แก่  ไก่  เป็ด  โค  กระบือและปลา  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีการรวมกลุ่มผลิตไวน์ผลไม้ในเขตตำบลหนองเอี่ยน ซึ่งเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้ให้กับราษฎรในเขตตำบลหนองเอี่ยน
          สภาพทางเศรษฐกิจ
          ๑.  อาชีพทางการเกษตร ตำบลหนองเอี่ยน  มีพื้นที่เกษตรทั้งสิ้น ๑๐,๓๒๕  ไร่    
ครอบครัวการเกษตร ๑,๔๓๗  ครอบครัว สภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญ ๆ จำแนกได้ ดังนี้

 พืชเศรษฐกิจ
พื้นที่เพาะปลูก
(ไร่)
ผลผลิตเฉลี่ย
(ก.ก./ไร่/ปี)
จำนวนครัวเรือน
ข้าว
มันสำปะหลัง
อ้อย
ยางพารา
อื่น ๆ……
,๐๘๐                        
๒๓๕
๒๔๕
๔๐๐
๓๖๕
,๒๔๕
๔๒
๓๐
๑๒๐

          ๔. แหล่งวิทยาการชุมชน และทุนด้านงบประมาณที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการจัดการศึกษา
         ประเภทบุคคล ประเภทสถานที่และองค์กร ประเภททรัพยากรธรรมชาติ ประเภทกิจกรรมทางสังคม – วัฒนธรรม และต้นทุนงบประมาณ (ระบุแหล่งทุนด้านงบประมาณของชุมชน)
หน่วยธุรกิจในเขตตำบลหนองเอี่ยน
                   -  ธนาคาร                                    -         แห่ง
                   -  โรงแรม                                     -         แห่ง
                   -  ปั๊มน้ำมัน                                           แห่ง (เป็นปั๊มหลอด ๔ แห่ง ปั๊มใหญ่ ๑ แห่ง )                   -  โรงงานอุตสาหกรรม                       -         แห่ง
                   -  โรงสี                                        ๓๑      แห่ง
การศึกษา
                             -  ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์(กรมศาสนา)              ๔        แห่ง 
                               -  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(กรมพัฒนาชุมชน)            ๑        แห่ง    
                               -  โรงเรียนประถมศึกษา                                     แห่ง
                             -  โรงเรียนขยายโอกาส                                        แห่ง
                             -  โรงเรียนอาชีวศึกษา                                 -         แห่ง
                             -  โรงเรียน / สถาบันชั้นสูง                            -         แห่ง    
                                        -  ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน                  ๑๐      แห่ง
                                -  ห้องสมุดประชาชน                               -          แห่ง
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
                             -  วัด / สำนักสงฆ์                                             แห่ง
                             -  มัสยิด                                                -         แห่ง
                             -  ศาลเจ้า                                               -         แห่ง
                             - โบสถ์                                                 -         แห่ง     
แหล่งวิทยากรชุมชน
ที่
ชื่อ - นามสกุล
จบการศึกษาจาก
สอนวิชา
.
นางพัด ลอนดอน
กศน.อำเภอคำชะอี
กลุ่มสานตะกร้าพลาสติก
.
นางไคร่สร นามบุตร
กศน.อำเภอคำชะอี
กลุ่มเพาะเห็ดฟาง
รวมทั้งสิ้นจำนวน   ๒ คน
ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนชื่ออาชีพ
๑. สถานที่จัดตั้ง หมู่ที่ ๗ บ้านหนองเอี่ยน การเพาะเห็ดฟาง ณ ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน
๒  สถานที่จัดตั้ง  หมู่ที่ ๙ บ้านหนองบง กลุ่มการทอเสื่อ กลุ่มสารตะกร้าพลาสติก
 ณ ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน